ข้อมูลต้นมะกรูดข้อดีข้อด้อยการขยายพันธุ์
อาชีพเสริมทำที่บ้าน สำหรับคนที่ต้องการใช้เวลาว่างหลังเลิกงานหรือใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุดทำกิจกรรมเสริมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น วันนี้ datacatalog.org ก็มีอาชีพอิสระแนะนำอีกเช่นเคยค่ะ
การปลูกมังคุดเป็นอาชีพเสริม
ปลูกมังคุดอาชีพเสริมหลังเลิกงาน มังคุดเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมและยังได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีของผลไม้” แต่น่าแปลกใจที่ไม่ค่อยพบเห็น การปลูกมังคุดอยู่ทั่วไปเหมือนผลไม้ยืนต้นอื่นๆ อย่างเช่น ขนุน มะม่วง มะพร้าว กระท้อน มะขาม ชมพู ฝรั่ง หรือ
วิธีการปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขายขายได้ทั้งผลและใบ
อาชีพอิสระการเกษตรที่น่าสนใจ อาชีพอิสระที่น่าสนใจวันนี้ เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำการเกษตรหรือชื่นชอบ การปลูกต้นไม้ที่ทำให้ได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติค่ะ เพราะdatacatalog.org มีวิธีปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขายมาแนะนำ สำหรับคนที่สนใจนอกจากเป็นอาชีพอิสระที่น่าสนใจแล้ว ยังปลูกเป็นอาชีพเสริมทำคู่ไปกับ งานประจำได้อีกด้วย มะกรูดถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ มีประโยชน์ขายได้ทั้งผลและใบ และยังเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่ครัว ของคนไทยเกือบจะทุกบ้านอีกด้วย วิธีการปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขาย การเลือกพันธุ์ มะกรูดที่นิยมปลูกหลักๆมี 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ที่ให้ผลตลอดปี ลูกจะมีขนาดเล็กผิวค่อนข้างเรียบ ส่วนอีกสายพันธุ์ใบใหญ่ผลใหญ่ และติดกันเป็นพวงผิวไม่เรียบมีตะปุ่มตะป่ำ เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูก เพื่อตัดใบและผลส่งขายโรงงานแปรรูป น้ำมันหอมระเหยกิ่งพันธุ์ที่นำมาปลูก ได้แก่การเพาะเมล็ด กิ่งตอน และกิ่งชำ การเตรียมดินและการปลูก การปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขาย เป็นอาชีพอิสระที่น่าสนใจ ควรมีพื้นที่ในการปลูกอย่างน้อย 1-2 ไร่การเตรียมดินเริ่มจากการไถดะ ไถแปร และยกร่องกว้าง 1 เมตรสำหรับปลูกเพราะมะกรูด เป็นไม้ต้นที่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง วิธีการ ใช้ต้นพันธุ์ที่เพาะจากเมล็ด กิ่งตอนหรือกิ่งชำปลูกบนร่อง 2 แถว โดยใช้ระยะปลูก 50 X 50 ซม. ลักษณะการปลูกแบบสลับฟันปลา
การปลูกข่าขายพันธุ์ข่าที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 พันธุ์ คือข่าหยวกและข่าเหลือง
ปลูกข่าขายอาชีพเสริมทำเงิน อาชีพเสริมทำเงินของคนที่ชอบทำการเกษตรมีหลายประเภท อย่างเช่น ปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือปลูกผักเศรษฐกิจขายอย่างเช่นผักออแกนิกหรือผักปลอดสารพิษ แต่อาชีพเสริมทำเงินที่ datacatalog.org แนะนำในวันนี้ก็คือการปลูกข่า พืชสมุนไพรที่อยู่คู่ครัวของคนไทยเกือบจะทุกบ้าน เพราะใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องแกง ดับกลิ่นคาว หรือใช้แต่งกลิ่นอาหารประเภทนึ่ง ย่าง ต้มยำและอีกหลากหลายเมนู ปลูกข่าทิ้งไว้ถึงเวลาตัดขาย จะมีพ่อค้าคนกลางมาซื้อมาขุดเอง ข่า นอกจากจะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารแล้ว ข่ายังมีฤทธิ์ทางยาใช้แก้ลมพิษ โดยการนำเหง้าแก่มาตำให้ละเอียด ผสมกับเหล้าโรงใช้ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ ทำให้อาการดีขึ้นและยังนำไป ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังเช่น กลากและเกลื้อน โดยทาหลายๆครั้งจนกว่าจะหาย การปลูกข่าสามารถ ขายได้ตลอดทั้งปี ถือเป็นอาชีพเสริมทำเงินที่น่าสนใจ เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่ายไม่ต้องดูแลมาก พันธุ์ข่าที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 พันธุ์ คือข่าหยวกและข่าเหลือง การเลือกปลูกข่าแต่ละพันธุ์ต้องดูที่ ความต้องการของตลาด เพราะแต่ละท้องถิ่นนิยมแตกต่างกัน ภาคใต้นิยมปลูกข่าเหลืองรวมถึงภาคอีสานบางส่วน สำหรับภาคกลางและภาคอีสานนิยมปลูกข่าหยวก ข้อดีในการเลือกปลูกข่าเป็นอาชีพเสริม โดยเฉพาะคนที่มีงานประจำอยู่แล้ว เมื่อปลูกแล้วไม่ต้องเสียเวลาไปขุดขายด้วยตัวเอง เพียงปลูกไว้เมื่อถึงเวลาตัดขาย ก็จะมีพ่อค้าคนกลางนำคนงานมาขุดเอง ทำให้ไม่ยุ่งยาก ปัจจุบันการปลูกข่าขาย ไม่ใช่เพียงการปลูกเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบ ในเครื่องแกงหรืออาหารเท่านั้น แต่ยังนำไปเป็นส่วนประกอบในเครื่องสมุนไพร เพื่อใช้ทำลูกประคบสำหรับแพทย์แผนไทย
การขยายพันธุ์ผักแพวปลูกผักแพวขายเป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจ
ปลูกผักแพวขายเป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจ คนที่ชอบทานอาหารรสจัดประเภทลาบ น้ำตก หรือ ก้อย คงรู้จักผักแพวเป็นอย่างดีเพราะเป็นผักพื้นบ้านนิยมทานเป็นผักแกล้มหรือนำมาปรุงเป็นเครื่องสด มีกลิ่นหอมและมีรสร้อนแรง นอกจากอาหารประเภทลาบน้ำตกแล้ว แหนมเนืองหรืออาหารเวียดนามก็เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ต้องมีผักแพวทานด้วยเสมอ การปลูกผักแพวขายจึงเป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นผักเศรษฐกิจที่ตลาดมีความต้องการสูง สำหรับคนที่สนใจและชอบทำการเกษตรการปลูกผักแพวขายเป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจค่ะ ประโยชน์และสรรพคุณของผักแพว รสเผ็ดของผักแพวมีสรรพคุณช่วยให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนสะดวก และช่วยเพิ่มการเผาพลาญไขมันในเลือด ช่วยบำรุงและรักษาสายตาเนื่องจากผักแพวเป็นผักที่ติดอันดับ 8 ของผักที่มีวิตามินซีสูง ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักแพวใช้รับประทานเป็นผักสดมีรสเผ็ดร้อนเฉพาะตัวซึ่งตัวช่วยให้เจริญอาหาร ผักแพวจัดอยู่ในดันดับ 10 ของผักพื้นบ้านไทยที่มีเส้นใยอาหารมากที่สุด ใช้เป็นผักเคียงทานคู่กับอาหารรสจัดหรือใช้เป็นเครื่องสดสำหรับปรุงอาหารได้หลากหลายประเภท เช่น ลาบ ลู่ น้ำตก การขยายพันธุ์ผักแพว ผักแพวเป็นผักที่ขยายพันธุ์ได้ง่าย กิ่งก้านผักแพวที่เรานำใบและยอดอ่อนมาทานแล้วก็สามารถนำไปปักชำเพื่อปลูกหรือขยายพันธุ์ได้ หรือหากเห็นว่าการปลูกผักแพวเป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจและต้องการปลูกขาย อาจปลูกตามขั้นตอนต่อไปนี้จะช่วยให้ได้ต้นผักแพวที่แข็งแรงและโตเร็วค่ะ 1.นำกิ่งก้านผักแพวที่เราต้องการปลูกไปแช่น้ำไว้ก่อน 3-4 วัน หรือหากมีต้นผักแพวอยู่ก่อนแล้วให้เลือกกิ่งก้านที่แก่พอดีแล้วนำมาแช่น้ำไว้ 2.นำดินที่ใช้สำหรับปลูกต้นไม้ใส่ในเศษภาชนะเหลือใช้ เช่น แก้วกาแฟสด ถุงพลาสติก หรือกระถางเล็กๆที่ไม่ได้ใช้แล้ว 3.รอจนรากผักแพวที่แช่น้ำไว้เริ่มงอก แล้วนำลงปลูกในภาชนะที่เตรียมไว้ 4.หมั่นรดน้ำและตั้งไว้ในที่ร่มที่มีความชุ่มชื้นรอจนผักแพวตั้งตัวได้ จึงนำไปปลูกลงในแปลงดินที่เตรียมไว้ เพียงเท่านี้ก็ได้อาชีพเสริมที่น่าสนใจหรือมีผักแพวไว้ทานเป็นผักสดคู่กับเมนูอาหารรสจัดจ้านประเภทลาบ น้ำตก ก้อยกุ้ง หรือทำแหนมเนืองทานคู่กับผักแพวที่ปลูกไว้ได้แล้วนะคะ